ยินดีต้อนรับ

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์

•คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องมือหรืออุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์คือมีศักยภาพสูงในการคำนวณประมวลผลข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเลข รูปภาพ ตัวอักษร และเสียง
ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์
หมายถึง ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 5 ส่วนคือ
ส่วนที1หน่วยรับข้อมูลเข้า (Input Unit)
เป็นวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาเชื่อมต่อ ทำหน้าที่ป้อนสัญญาณเข้าสู่ระบบ เพื่อกำหนดให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการ ได้แก่
- แป้นอักขระ (Keyboard)
-แผ่นซีดี (CD-Rom)
-ไมโครโฟน (Microphone) เป็นต้น
ส่วนที2 หน่วยประมวลผลกลาง
(Central Processing Unit)
ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคำนวณทั้งทางตรรกะและคณิตศาสตร์ รวมถึงการประมวลข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ
ส่วนที่3 หน่วยความจำ (Memory Unit)
ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อเตรียมส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผลกลาง และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จาการประมวลผลแล้วเพื่อเตรียมส่งไปยังหน่วยแสดงผล
ส่วนที่4 หน่วยแสดงผล (Output Unit)
ทำหน้าที่แสดงข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล หรือผ่านการคำนวณแล้ว
ส่วนที่5 อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ
(Peripheral Equipment)
เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น เช่น โมเด็ม (modem) แผงวงจรเชื่อมต่อ เครือข่าย เป็นต้น
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
1. มีความเร็วในการทำงานสูง สามารถประมวลผลคำสั่งได้รวดเร็วเพียงชั่ววินาที จึงใช้ในงานคำนวณต่างๆได้อย่างรวดเร็ว
2. มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ทำงานได้ตลอด 24 ชั่งโมง ใช้แทนกำลังคนได้มาก
3. มีความถูกต้องแม่นยำ ตามโปรแกรมสั่งงานและข้อมูลที่ใช้
4. เก็บข้อมูลได้มาก ไม่เปลืองเนื้อที่เก็บเอกสาร
5. สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน
ระบบคอมพิวเตอร์
หมายถึง กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆ กับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้งานให้มากที่สุด เช่น ระบบเสียภาษี ระบบทะเบียนราษฎร์ ระบบทะเบียนการค้า ระบบเวชระเบียนของโรงพยาบาล เป็นต้น
การเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้โดยการตรวจสอบจากการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน ดังนี้
1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หรือส่วนเครื่อง
2.ซอฟแวร์ (Software) หรือส่วนชุดคำสั่ง
3.ข้อมูล (Data)
4.บุคลากร (Peopleware)
ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
หมายถึง ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างๆที่เราสามารถสัมผัสและจับต้องได้ ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 4 ส่วน ดังนี้คือ
1.ส่วนประมวลผล (Processor)
2.ส่วนความจำ (Memory)
3.อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก (Input-Output
Devices)
4.อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล (Storage Device)
ส่วนที่1 CPU
CPU เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เปรียบเสมือนสมอง
มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ประมวลผลและเปรียบเทียบข้อมูล โดยทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดิบและแปลงให้เป็นสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ความสามารถของ ซีพียู นั้น พิจารณาจากความเร็วของการทำงาน การรับส่งข้อมูล อ่านและเขียนข้อมูลในหน่วยความจำ ความเร็วของซีพียูขึ้นอยู่กับตัวให้จังหวะที่เรียกว่า สัญญาณนาฬิกา เป็นความเร็วของจำนวนรอบสัญญาณใน 1 วินาที มีหน่วยเป็น เฮิร์ตซ์(Hertz)เช่น สัญญาณความเร็ว 1 ล้านรอบใน 1 วินาที เทียบเท่าความเร็วสัญญาณนาฬิกา 1 จิกะเฮิร์ตซ์ (1GHz)
ส่วนที่2 หน่วยความจำ (Memory)
จำแนกออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
2. หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage)
1.หน่วยความจำหลัก
แบ่งได้ 2 ประเภทคือ หน่วยความจำแบบ “แรม” (RAM)และหน่วยความจำแบบ”รอม”(ROM)
1.1 หน่วยความจำแบบ “แรม” (RAM=Random Access Memory)
เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูล ข้อมูลหรือแฟ้มข้อมูลจะถูกเก็บไว้ชั่วคราวขณะทำงาน ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำจะอยู่ได้นานจนกว่าจะปิดเครื่อง หรือไม่มีกระแสไฟฟ้าป้อนให้กับเครื่อง เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (Volatile Memory)
1.2 หน่วยความจำแบบ “รอม” (ROM=Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่ถาวรไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่ป้อนให้กับวงจร ยอมให้ซีพียูอ่านข้อมูลหรือโปรแกรมไปใช้งานอย่างเดียว ไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปเก็บไว้ได้โดยง่าย ส่วนใหญ่ใช้เก็บโปรแกรมควบคุม เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน (Nonvolatile Memory)
หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory Unit)
หน่วยความจำสำรอง หรือหน่วยเก็บข้อมูลรอง เป็นหน่วย
เก็บที่สามารถรักษาข้อมูลได้ตลอดไปหลังจากปิดเครื่อง
คอมพิมเตอร์แล้ว
หน่วยความจำรองมีหน้าที่หลักคือ
1.ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือสำรองข้อมูลเพื่อใช้ในอนาคต
2.ใช้ในการเก็บข้อมูล โปรแกรมไว้อย่างถาวร
3.ใช้เป็นสื่อในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง
ประโยชน์ของหน่วยความจำสำรอง
หน่วยความจำรองจะช่วยแก้ปัญหาการสูญหายของข้อมูลอันเนื่องมาจากไฟฟ้าดับเพราะข้อมูลต่างๆที่ส่งเข้ามา
ประมวลผล เมื่อเรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้จะถูกนำไปเก็บในความจำหลักประเภทแรม หากปิดเครื่องหรือมีปัญหาทางไฟฟ้า อาจทำให้ข้อมูลสูญหายจึงจำเป็นต้องมีหน่วยความจำรอง เพื่อนำข้อมูลจากหน่วยความจำแรมมาเก็บไว้ใช้งานในครั้งต่อไป หน่วยความจำประเถทนี้ส่วนใหญ่จะพบในรูปของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลภายนอก เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นบันทึก ชิปดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดี เทปแม่เหล็ก หน่วยความจำแบบแฟลช หน่วยความจำรองนี้ ถึงจะไม่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ยังสามารถทำงานได้ปกติ
บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (PEOPLEWARE)
บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง คนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้หรือควบคุมให้การใช้คอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างราบรื่น อาจจะประกอบด้วยคนเพียงคนเดียว หรืหลายคนช่วยกันรับผิดชอบโครงสร้างของหน่วยคอมพิวเตอร์
ประเภทของบุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (PEOPLEWARE)
1. ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
2. ฝ่ายเกี่ยวกับโปรแกรม
3. ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องและบริการ
บุคลากรในหน่วยงานคอมพิวเตอร์
1. หัวหน้าหน่วยงานคอมพิวเตอร์ (EDP Manager)
2. หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์และวางแผนระบบงาน (System Analyst หรือ SA)
3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
4. ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer Operator)
5. พนักงานจัดเตรียมข้อมูล (DaOperator)
-นักวิเคราะห์ระบบงาน
ทำการศึกษาระบบงานเดิม ออกแบบระบบงานใหม่
-โปรแกรมเมอร์
นำระบบงานใหม่ที่นักวิเคราะห์ระบบออกแบบไว้มาสร้างเป็นโปรแกรม
-วิศวกรระบบ
ทำหน้าที่ออกแบบ สร้าง ซ่อมบำรุง และดูแลรักษาฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานได้ตามต้องการ
-พนักงานปฏิบัติการ
ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ หรือภารกิจประจำวัน ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์
อาจแบ่งประเภทของบุคลากรคอมพิวเตอร์เป็นระดับต่างๆได้ 4 ระดับดังนี้
1. ผู้จัดการระบบ (System Manager)
คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน
2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)
คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้
เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน
3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้
4. ผู้ใช้ (User)
คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ

วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่  6

1.อินเทอร์เน็ต  (Internet)หมายความว่าอย่างไร
 
เครือข่ายนานาชาติหรือเครือข่ายสากล  คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลเข้าด้วยกันโดยปัจจุบันมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันอยู่มากมายกว่า  60  ล้านเครื่อง
 
2.จงอธิบายความสำคัญของอินเทอร์เน็ตทางด้านการศึกษาว่ามีอะไรบ้าง
 
มีความสำคัญดังนี้
  • สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูลไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆที่น่าสนใจ
  • ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
  • นักศึกษาสามารถใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกับมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนอื่นๆเพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็นข้อความเสียง  ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ
3.จงบอกประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
 
  • ด้านการศึกษา  เช่น  ใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้เป็นต้น
  • ด้านธุรกิจและการพาณิชย์  เช่น ค้นหาข้อมูลต่างๆเพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
  • ด้านการบันเทิง  เช่น  สามารถฟังวิทยุหรือดูรายการโทรทัศน์ได้  เป็นต้น
4.การติดต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์  Modemหมายความว่าอย่างไร
อุปกรณ์แปลงสัญญารคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณโทรศัพท์และแปลงสัญญาณโทรศัพท์ให้เป็นสัญญาณคอมพิวเตอร์  หรืออุปกรณ์ในการแปลงสัญญาณแอนาล็อกผ่านสายโทรศัพท์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง
 
5.ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต www มีประโยชน์อย่างไร
 
การให้บริการเวิลด์ไวด์เว็บ (world  wied  web หรือ  www)  เป็นบริการระบบข่าวสารที่มีข้อมูลอยู่ทุกแห่งในโลก ซึ่งข้อมูลต่างๆเหล่านั้นสามารถอยู่ในหลายรูปแบบแตกต่างกัน  เช่น  เอกสารรูปภาพ  ภาพเคลื่อนไหว  และเสียง  เป็นต้น  ข้อมูลเหล่านี้สามารถเชื่อมโยงเป็นระบบสามารถสืบค้นได้ง่าย
 
6.จงยกตัวอย่างประโยชน์ของ  E-mail
 
สามารถรับ-ส่ง  จดหมายอิเล็กทรอนิกส์  หรือ  E-mail  ซึ่งจดหมายเหล่านี้จะถูกส่งผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไปถึงผู้รับไม่ว่าอยู่ที่ใดในโลกอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่วินาที
 
 
 


คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่  7


1.จงอธิบายเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่างๆว่ามีกี่ประเภท
มีทั้งหมด  4  ประเภท
  • อินทราเน็ต  เป็นเครือข่ายภายองค์กรหนึ่งๆ
  • เอ็กซ์ทราเน็ต  ทั้งอินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลเนื่องจากมีเจ้าของและเจ้าของเป็นผู้กำหนดว่าใครบ้างสามารถเป็นสมาชิกของเครือข่ายได้
  • รูปแบบของข้อมูลในเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ทั้ง3ประเภทที่กล่าวมาเป็นเครือข่ายที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน
2.อินทราเน็ต (Imtarnet)หมายความว่าอย่างไร

เป็นเครือข่ายภายสำหรับองค์กรหนึ่งๆ  ข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรหรือข้อมูลเพื่อการใช้ประโยขน์ขององค์กร  คอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมกับเครือข่ายอาจอยู่ภายในตึกเดียวกันหรือกระจายกันอยู่ทั่วประเทศหรือทั่วโลก

3.จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
4.จงอธิบายวิธีการสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์Googleพอสังเขป

ให้พิมพิมพ์คำที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการค้นหาเพียง2-3คำลงไป  แล้วกดแป้น  Enter   หรือคลิกที่ปุ่ม Go  บหน้าจอ  Google   ก็จะแสดงเว็บเพจที่ต้องการค้นหา

5.Digital library   หมายความว่าอย่างไร

(ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์)  หมายถึง  การจัดเก็บสารสนเทศในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์แทนที่จะจัดเก็บในรูปของสื่อพิมพ์  ขณะนี้ได้เริ่มมีการใช้วิธีการเช่นนี้แล้ว  แต่คงต้องรออีกนานทีเดียวกว่าห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์จะสามารถแทนที่ห้องสมุดแบบดั้งเดิม

6.จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลเว็บไซต์ประเภทของการศึกษา
  • เว็บไซต์โครงการ  SchoolInet@ 1509 (http://www.school.net.th)  เกี่ยวข้องกับการศึกษาระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา
  • เว็บไซต์   Learn Online (http://www.learn.in.th)   ของสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์  และเทคโนโลยีไทยเป็นเว็บสำหรับเรียนรู้ได้ด้วยตนเองผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เน้นสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในทุกระดับการศึกษา

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่  8

1.  การนำเสนอผลงานมีวัตถุประสงค์อย่างไร
  •      ให้ผู้ชมเข้าใจสาระสำคัญของการนำเสนอ
  • ให้ผู้ชมเกิดความประทับใจ  ซึ่งจะนำไปสู่ความเชื่อถือในผลงานที่นำเสนอ
การนำเสนอผลงานโดยใช้โสตทัศนศึกษานั้นมีเหตุผลเบื้องลึกคื  หลักจิตวิทยาการเรียนรู้ซึ่งได้มีการค้นพบจากนักวิจัยว่าการรับรู้ข้อมูลโดยผ่านทางประสาทสัมผัสสองอย่างคือ  ทั้งตาและหูพร้อมกัน

2.  หลักการพื้นฐานสำคัญของการนำเสนอผลงานมีอะไรบ้าง
  • การดึงดูดความสนใจ
  • ความชัดเจนและความกระชับของเนื้อหา
  • ความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
3.  การบรรยายสดกับการพากย์มีข้อพิจารณาในการเลือกใช้ต่างกันอย่างไร
  • การบรรยายสด  เหมาะสำหรับประชุมหรือสัมมนาที่ต้องการให้ผู้ชมมีส่วนร่วมเพราะผู้บรรยายเป็นผู้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับเนื้อหาเป็นอย่างดี
  • การพากย์   เหมาะสำหรับเนื้อหาที่สามารถถ่ายทอดได้โดยไม่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ชม  แต่ข้อเสียคือ  ไม่มีความยืดหยุ่นไม่สามารถปรับให้เหมาะสมกับความรู้สึกของผู้ชมในขณะนั้น
4.  เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
  • การนำเสนอSlide  presentation
      1.1โดยใช้โปรแกรมpower  point
      1.2โดยใช้โปรแกรมproshow  Gold
      1.3โดยใช้โปรแกรมFlip  Album
  • รูปแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  (CAI)
      2.1การใช้โปรแกรมAuthorware
      2.2การใช้ระบบจัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์Moodle

5.   รูปแบบที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
  • การนำเสนอแบบSlide  presentation
  • การนำเสนอแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  (CAI)
    

วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


                Information Technology


Internet คืออะไร

Internet คือ ระบบเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้า

ด้วยกันโดยใช้ protocol มาตรฐานสำหรับinternet (IP) เพื่อบริการ

แก่ผู้ใช้จำนวนหลายพันล้านคนทั่วโลก เป็นเครือข่ายของเครือข่ายทั้งหลาย

(network of networks)

                    ความสำคัญของ internet ในการศึกษา

-เป็นขุมคลังอันมหึมาของสารสนเทศ

            -มีข่าวสารข้อมูลใน Internet ให้เข้าถึงได้แบบ online / สามารถเข้าถึงสารสนเทศในเวลาใดเวลาหนึ่งได้

            -แหล่งทรัพยากรสารสนเทศ online ที่ใหญ่ที่สุดก็คือ encyclopedia ที่ใครก็สามารถเข้าถึงสารสนเทศonline นี้ ได้ตามที่ต้องการ

Reference: ww. wukessays.co.uk




          ISP หรือ Internet Service Provider

Ò : หน่วยงานที่ให้บริการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

Ò ทำหน้าที่เสมือนประตูเปิดการเชื่อมต่อให้บุคคลหรือองค์กรสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้

หน่วยงานที่ให้บริการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมี 2 ประเภท

É 1. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ (commercial ISP)

Ð ตัวอย่างผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์

ประเภท
ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
ชื่อเครือข่าย
เชิงพาณิชย์
ซีเอส ล็อกซอินโฟ
CS Loxinfo
รอยเน็ท อินเทอร์เน็ต
Roy-Net
จัสมินอินเทอร์เน็ท
JI-Net
เคเอสซี คอมเมอร์เชียล อินเทอร์เน็ต
KSC
แปซิฟิค อินเทอร์เน็ต (เวิลด์เน็ต)
Pacific Internet

É  

 

É 2. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสำหรับสถาบันการศึกษา การวิจัยและหน่วยงานของรัฐ(non- commercial ISP)

Ð ตัวอย่างผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสำหรับสถาบันการศึกษา การวิจัยและหน่วยงานของรัฐ




ประเภท
ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
ชื่อเครือข่าย
สถาบันการศึกษา การวิจัยและหน่วยงานของรัฐ(non- commercial ISP)
เครือข่ายไทยสาร
ThaiSarn
เครือข่ายผับเน็ต
PubNet
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ICT
เครือข่ายยูนิเน็ต
UniNet


การเชื่อมต่อของอินเทอร์เน็ต

Ò ผ่าน ISP โดยมีอุปกรณ์เชื่อมต่อที่เหมาะสมในการแปลงสัญญาณผ่านสื่อที่จะใช้แต่ละประเภท

Ò วิธีที่1 ต่อผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา โดยมีโมเด็ม(modem)ที่ต่อกับคอมพิวเตอร์แล้วต่อเข้ากับสายโทรศัพท์

ถ้าเป็นสายISDN (Integrated Services Digital Network)ต้องใช้โมเด็ม ISDN โดยเฉพาะ

 

                           

 

Ò วิธีที่2 ต่อด้วยอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่เรียกว่า ADSL หรือบรอดแบรนด์ โดยใช้โมเด็มชนิด ADSL ที่ต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับสายโทรศัพท์ แต่จะรับส่งสัญญาณในสายคนละแบบคนละความถี่กัน ซึ่งจะทำให้ได้ความเร็วสูงขึ้นกว่าโมเด็มธรรมดา และต้องอาศัยอุปกรณ์พิเศษที่ชุมสายจึงจะใช้ได้
Ò เมื่อเชื่อมต่อกับระบบโทรศัพท์ได้แล้ว ก็หมุนหมายเลขโทรศัพท์ปลายทางไปยัง ISP  เรียกการเชื่อมต่อแบบนี้ว่า Dial- Up

 

 

 

 

 

 

 

วันพุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2557


ซอฟต์แวร์(Software)

1.ความหมายของซอฟต์แวร์

       ซอฟต์แวร์  คือ การลำดับขั้นตอนการทำงานของคำสั่งที่จะทำหน้าที่สั่งคอมพิวเตอร์ว่าให้ทำอะไร  เป็นชุดของโปรแกรมหลายๆโปรแกรมนำมารวมกันให้สามารถทำงานได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ต้องการ  เรามองไม่เห็นหรือสัมผัสไม่ได้แต่เราสามารถสร้าง จัดเก็บ และนำมาใช้งานหรือเผยแพร่ได้ด้วยสื่อหลายชนิดเช่น  แผ่นบันทึก  แผ่นซีดี  
แฟล็ชไดร์ฟ ฮาร์ดดิสก์  เป็นต้น
 

หน้าที่ของซอฟต์แวร์

ซอฟต์แวร์ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์ เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท
 
 


2. ประเภทของซอฟแวร์

          ซอฟต์แวร์แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ         

1.ซอฟต์แวร์ระบบ(System Software) 
        


2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (ApplicationSoftware)
os

 3.ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ

 
 



ภาษาคอมพิวเตอร์ในแต่ละยุคประกอบด้วย

ภาษาเครื่อง (Machine Languages)

      เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้าใช้แทนด้วยตัวเลข 0 และ 1 ได้ ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลขฐานสองนี้ คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ว่าภาษาเครื่อง การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันทีแต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมาก เพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นที่เป็นตัวอักษร




 

 

ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Languages)

          เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 2 ถัดจากภาษาเครื่อง ภาษาแอสเซมบลีช่วยลดความยุ่งยากลงในการเขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อกับคอมพิวเตอร์    แต่อย่างไรก็ตามภาษาแอสเซมบลีก็ยังมีความใกล้เคียงภาษาเครื่องอยู่มาก และจำเป็นต้องใช้ตัวแปลภาษาที่เรียกว่าแอสเซมเบลอร์(Assembler) เพื่อแปลชุดภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง

 

 

ภาษาระดับสูง (High-Level Languages)

เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 3 เริ่มมีการใช้ชุดคำสั่งที่เรียกว่า Statements ที่มีลักษณะเป็นประโยคภาษาอังกฤษ ทำให้ผู้ที่เขียนโปรแกรมสามารถเข้าใจชุดคำสั่งเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานง่ายขึ้น ผู้คนทั่วไปสามารถเรียนรู้และเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น เนื่องจากภาษาระดับสูงใกล้เคียงภาษามนุษย์ ตัวแปลภาษาระดับสูงเพื่อให้เป็นภาษาเครื่องนั้นมีอยู่ 2 ชนิด ด้วยกัน คือ 

คอมไพเลอร์ (Compiler) และ อินเทอร์พรีเตอร์ (Interpreter)

คอมไพเลอร์ จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อน แล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น

อินเทอร์พรีเตอร์ จะทำการแปลทีละคำสั่ง แล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเสร็จแล้วจึงมาทำการแปลคำสั่งลำดับต่อไป ข้อแตกต่างระหว่างคอมไพเลอร์กับอินเทอร์พรีเตอร์จึงอยู่ที่การแปลทั้งโปรแกรมหรือแปลทีละคำสั่ง

 

 

 

วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557

บทความเทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตปัจจุบัน

ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ  เป็นรู้จักกันมากในหมู่วัยรุ่น  ซึ่งคนไทยรู้จักกันก็คือ เทคโนโลยีสารสนเทศ  นั่นเอง ไม่ค่อยนิยมเรียกกันมากนัก ส่วนใหญ่มักจะเรียกกันว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารเทศ คือ เทคโนโลยีในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานจัดการกับข้อมูล ข่าวสาร หรือที่เรียกว่าสารสนเทศศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสาเทศเป็นศาสตร์ที่ใหม่มาก และมีความสำคัญมากในสังคมปัจจุบัน และถือว่าเป็นหนึ่งในสามศาสตร์หลัก (เทคโนโลยีสารสนเทศ เทศโนโลยีนาโน เทคโนลีชีวภาพ) ที่ถูกกล่าวว่าจะมีผลต่อสังคมในอนาคตมากที่สุด โดยปัจจุบันมีผู้กล่าวถึง เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างกว้างขวาง โดยเราจะรู้จักกันทั่วไปในชื่อสั้นๆว่า ไอที(IT) รัฐบาลไทยก็เล็งเห็นความสำคัญด้านนี้มาก จึงมีการจัดตั้งกระทรวงใหม่ที่เกี่ยวกับงานทางด้านนีขื้น ชื่อกะทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและกาสื่อสารหรือเรียกย่อๆว่า กระทรวงไอซีที